หน้าแรก    ผบ.ร้อย ตชด.435    ติดต่อเรา    รวมรูปภาพ    ทำเนียบผู้บริหาร    ข้อมูลหน่วยงาน    บทความ 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 02/05/2008
ปรับปรุง 22/04/2024
สถิติผู้เข้าชม 2,768,482
Page Views 3,278,869
 

สมาชิก




ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
 

เมนู

หน้าแรก

ผบ.ร้อย ตชด.435

ข้อมูลหน่วยงาน

คำขวัญ

รับฟังความคิดเห็น

รวมรูปภาพ

ดาวน์โหลด

บุคลากรสายงาน

หน่วยสังกัด บช.ตชด.

สถานีวิทยุออนไลน์

จังหวัดตรัง

เอกชนจังหวัดตรัง

หน่วยงานในจังหวัดตรัง

 

 

 

 

ประวัติ
กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 435
 
กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 435   ตั้งอยู่ที่ บ้านช่องกิ่ว   ต.บ้านควน   อ.เมือง   จว.ตรัง พิกัด NJ 702307 มีเนื้อที่ 72 ไร่3 งาน  มีอาณาเขตดังนี้
                           ทิศเหนือ              จด           วิทยาลัยการอาชีพตรัง
                           ทิศใต้                  จด           ที่ดินราชพัสดุ และที่สาธารณะประโยชน์
                           ทิศตะวันออก        จด           ถนน รพช. สายตรัง- ควนเคี่ยม
                           ทิศตะวันตก          จด           ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดตรัง
         
ความเป็นมา
กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 435 เดิมเรียกว่ากองร้อยที่ 8 ตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 9   จัดตั้งตามที่ บช.ตชด. ได้มีหนังสือ ที่ 0520/2515   ลง 4 ม.ค.2516   ขออนุมัติจัดตั้ง บก.ร้อย 8 ตชด.  ประกอบด้วย กำลัง 3 หมวดปฏิบัติการ, 1 หมวดครู และ 1 หมวดอาวุธหนัก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมกำลังใจในการปฏิบัติงาน ลดช่องว่างของพื้นที่รับผิดชอบ และพื้นที่ซึ่งมีสถานการณ์รุนแรง เพื่อให้ได้การปฏิบัติงานด้านยุทธการบรรลุผลยิ่งขึ้น และกรมตำรวจได้อนุมัติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 14  มกราคม  2517   โดย กก.ตชด.เขต 9 ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ร.ต.ต.ดิเรก พงษ์ภมร (ยศขณะนั้น) รักษาการในตำแหน่ง ผบ.ร้อย 8 ตชด.  ตั้งที่ทำการชั่วคราวที่ ร.ร วัดทุ่งหวัง ต.โคกหล่อ อ.เมือง จ.ตรัง  เมื่อวันที่ 10  เมษายน 2517     และย้ายเข้ามาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2518  
ต่อมาเมื่อวันที่  12 ธันวาคม 2529  ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ ใน สังกัด บช. ตชด. จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 435”  จนถึงปัจจุบัน
 
สภาพภูมิศาสตร์จังหวัดตรัง
 
ที่ตั้ง และอาณาเขตของจังหวัดตรัง
 
            จังหวัดตรัง ตั้งอยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย พื้นที่เลียบชายฝั่งทะเลตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย ยาวตลอดแนวจังหวัด ระยะทาง 119 กิโลเมตร   ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ ระยะทาง 862 กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ 4,941 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้
                 ทิศเหนือ           จด           จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดกระบี่
                 ทิศใต้               จด           จังหวัดสตูลและมหาสมุทรอินเดีย
                    ทิศตะวันออก     จด           จังหวัดพัทลุง
                    ทิศตะวันตก       จด           จังหวัดกระบี่และมหาสมุทรอินเดีย
 
 
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่โดยทั่วไปเป็นเนินเขาสูง ๆ ต่ำๆ สลับด้วยภูเขาเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พื้นที่ราบมีอยู่ค่อนข้างน้อย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ทางด้านตะวันออกจะมี เทือกเขาบรรทัดยาวตลอดแนวตั้งแต่ตอนเหนือถึงตอนใต้ ซึ่งใช้เป็นเส้นส่วนแบ่งเขตระหว่างจังหวัด ตรังกับจังหวัดพัทลุง ลักษณะดิน ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบชื้นและมีป่าชายเลนตามบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล
 
แหล่งน้ำธรรมชาติ
จังหวัดตรังมีแม่น้ำสำคัญอยู่ 2 สาย คือ
            1. แม่น้ำตรัง มีต้นกำเนิดจากแนวเทือกเขาบรรทัดในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ความยาวประมาณ 123 กิโลเมตร ไหลผ่านพื้นที่ 4 อำเภอ  คือ อำเภอห้วยยอด, อำเภอวังวิเศษ, อำเภอ เมือง และอำเภอกันตัง  แล้วไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่ปากน้ำกันตัง อ.กันตัง
            2. แม่น้ำปะเหลียนมีต้นกำเนิด จากแนวเทือกเขาบรรทัดในจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล ความยาว  ประมาณ 58 กิโลเมตร ไหลผ่านพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอย่านตาขาว และอำเภอปะเหลียน แล้วไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่ปากน้ำปะเหลียน อ.ปะเหลียน
 
สภาพอากาศ
จังหวัดตรังมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน กับฤดูฝน โดยฤดูร้อน เริ่มจากต้นเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน และฤดูฝนเริ่มจากเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม    ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อากาศค่อนข้างชุ่มชื้น ฝนตกชุกตลอดปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.8  องศาเซลเซียส
 
ด้านการเมือง
 แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 4 เขตดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1     ประกอบด้วย อำเภอเมืองตรัง
เขตเลือกตั้งที่    ประกอบด้วย อำเภอห้วยยอด, อำเภอรัษฎา และอำเภอวังวิเศษ(ยกเว้นตำบลวังมะปราง)
เขตเลือกตั้งที่ 3     ประกอบด้วย อำเภอปะเหลียน, อำเภอนาโยง, กิ่งอำเภอหาดสำราญ, อำเภอย่านตาขาว (เฉพาะ ตำบลชุมเห็ด,ตำบลโพรงจระเข้,ตำบลในควน และตำบลหนองบ่อ)
เขตเลือกตั้งที่ 4     ประกอบด้วย อำเภอกันตัง, อำเภอสิเกา, อำเภอวังวิเศษ(เฉพาะตำบล วังมะปราง) และอำเภอย่านตาขาว (ยกเว้น ตำบลนาชุมเห็ด,ตำบลโพรงจระเข้,ตำบลในควน และตำบลหนองบ่อ)
                มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 4 คน ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้ความสนใจและไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งทุกระดับในอัตราที่ค่อน ข้างสูง
 
ด้านเศรษฐกิจ
ทรัพยากรที่สำคัญของจังหวัด ประกอบด้วย
ป่าไม้ ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน ไม้หลุมพอ ไม้โกงกาง ไม้หลุมพอทะเล ไม้ตะบูน เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ได้แก่ อำเภอปะเหลียน อำเภอห้วยยอด อำเภอวังวิเศษ อำเภอนาโยงและอำเภอสิเกา
ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้แก่ประชาชนเป็นอันดับที่หนึ่งของจังหวัด ปลูกทั่วไปในทุกอำเภอ
สัตว์น้ำ เนื่องจากอยู่ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน จึงทำให้มีสัตว์น้ำเกือบทุกชนิดชุกชุม และเป็นรายได้สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัด
รังนกในท้องที่อำเภอกันตังและอำเภอปะเหลียน ซึ่งเอกชนได้รับสัมปทานในแต่ละปี
ปาล์มน้ำมัน ปลูกมากในพื้นที่อำเภอสิเกาและอำเภอวังวิเศษ
 
จังหวัดตรังมีพื้นที่เลียบชายฝั่งทะเลอันดามันมีพื้นที่ป่าดิบชื้นและป่าชายเลนเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธาร จึงมีทัศนียภาพสวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง จึงทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวขยายตัวอย่างรวดเร็ว
------------------------------------------
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  Copyright 2005-2013 ตชด.435 ตรัง.คอม All rights reserved.
view